วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2550

Enterprise System


ระบบความร่วมมือองค์กร Enterprise System


การสื่อสารภายในองค์การเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งมีพลังขับเคลื่อนให้เกิดความร่วมมือกันทั่วทั้งองค์กร จนสามารถเอาชนะคู่แข่งขันได้ ดังนั้นกระบวนการสื่อสารจะต้องมีประสิทธิภาพ และมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยที่กระบวนการสื่อสารหมายถึงขั้นตอนต่าง ๆ ระหว่างแหล่งข้อมูลข่าวสาร กับผู้รับข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดการส่งผ่านหรือถ่ายทอด จนเกิดความเข้าใจความหมายของข้อมูลนั้น ๆ ดังนั้นถ้าหากช่องทางการสื่อสารมีการหักเห เบี่ยงเบน หรือมีสิ่งกีดขวางเกิดขึ้น จะทำให้ข้อมูลข่าวสารเกิดการเบี่ยง ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ และทำให้เกิดปัญหาต่อการสื่อสาร ระบบอินทราเน็ตสามารถช่วยลดช่องทางที่อาจทำให้ข้อมูลข่าวสารเบี่ยงเบน โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในแนวทางที่ทำให้สามารถทำงานร่วมกันได้

การดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ได้มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อพัฒนาศักยภาพขององค์กร กลายเป็นระบบงานอัตโนมัติที่เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กร อย่างไรก็ตาม ระบบงานอัตโนมัติที่จัดการงานด้านต่าง ๆ ในองค์กรยังคงมีการทำงานแยกจากกันบางส่วนทำให้เกิดความยุงยากในการเชื่อมโยงและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อค้นหาแนวทางในการแก้ไข ปัญหาของผู้บริหารระดับสูง ดังนั้นจึงมี การพัฒนาระบบที่สามารถเชื่อมโยงระบบงานอัตโนมัติต่างๆ ที่ทำงานแยกจากกันให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ จึงเรียกระบบดังกล่าวว่า “Enterprise Decision Support Systems หรือ EDSS นั่นเอง


ความหมายของ EDSS

ความหมายของ EDSS ในที่นี้ ขอเริ่มต้นด้วยความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems: DSS) ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศ (Information Systems) ชนิดหนึ่งที่มีวัตถุประสงค์สนับสนุนการตัดสินใจของผู้ตัดสินใจ มีคำจำกัดความโดยทั่วไป ดังนี้“DSS เป็นระบบสารสนเทศชนิดหนึ่งที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์คอยช่วยเหลือและให้การสนับสนุน เพื่อให้บุคคลที่ทำหน้าที่ตัดสินใจสามารถจัดการกับปัญหากึ่งโครงสร้าง (Semi structured) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งระบบ DSS จะช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารหรือพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเท่านั้น ไม่ได้ใช้แทนการทำงานของมนุษย์”

DSS เป็นระบบที่มีวิวัฒนาการต่อจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems : MIS) และระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automatic Systems : OA) ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการที่จะเพิ่มส่วนสนับสนุนการตัดสินใจ ซึ่งในเบื้องต้นจะเป็นระบบ DSS ที่สนับสนุนการตัดสินใจส่วนบุคคลเท่านั้น (Personal Decision Support Systems) จากนั้นพัฒนามาสู่ DSS ที่สนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม (Group Decision Support Systems) และระดับองค์กรในที่สุด (Organization Decision Support Systems) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเท่านั้น แต่ในขณะเดียวกันก็ได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการค้นหาและจัดการสารสนเทศให้เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจมากที่สุด ระบบดังกล่าวเรียกว่า “ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems : EIS)”

ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems: EIS) หมายถึง ระบบสารสนเทศที่มีพื้นฐานการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงสามารถเข้าถึง รวบรวม วิเคราะห์ และประมวลผลสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์กรตามต้องการได้อย่างรวดเร็วขึ้น ทั้งนี้ เพื่อนำสารสนเทศดังกล่าวมาใช้ในการบริหารงานที่รับผิดชอบ เช่น การวางนโยบาย การวางแผน และการจัดตั้งงบประมาณ เป็นต้นเมื่อนำระบบ EIS เข้ามาใช้ในองค์กร และมีการเพิ่มเติมความสามารถให้กับระบบ เช่น การประสานเข้ากับระบบเครือข่ายเพื่อให้สามารถติดต่อหรืเข้าถึงข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต สามารถประชุมทางไกล หรือสามารถใช้แทนโปรแกรมประมวลคำ ใช้สนับสนุนการตัดสินใจได้ เป็นต้นความสามารถที่เพิ่มเติมเข้ามาให้ระบบ EIS สนับสนุนการทำงานของผู้บริหารระดับสูงได้หลายหน้าที่มากขึ้น จึงเรียกว่า “ระบบสนับสนุนการทำงานของผู้บริหารระดับสูง (Executive Support Systems: ESS)”ระบบสนับสนุนการทำงานของผู้บริหารระดับสูง (Executive Support Systems: ESS) หมายถึง ระบบ EIS ที่มีการเพิ่มเติมความสามารถมากขึ้นกว่าระบบ EIS ธรรมดาเพื่อให้บริหารระดับสูงสามารถทำงานได้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น สามารถใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาสารสนเทศได้ สามารถประชุมทางไกล หรือการมีระบบสำนักงานอัตโนมัติรวมอยู่ด้วย เป็นต้นดังนั้นอาจเรียกระบบ EIS และ ESS ด้วยความหมายที่เหมือนกันได้และเมื่อองค์กรมีทั้งระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการทำงานในระดับปฏิบัติการ หรือที่เรียกว่า ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ตลอดจนระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูงรวมอยู่ภายในองค์กรเดียวกัน โดยมีการประสานระบบดังกล่าวให้สามารถเชื่อมโยงการทานถึงกันได้ และมีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้สารสนเทศทั้งหมดร่วมกันภายในองค์กร จะเรียกสารสนเทศดังกล่าวนี้ว่า “ระบบสารสนเทศระดับองค์กร (Enterprise Information Systems : EIS)”

ระบบสารสนเทศระดับองค์กร (Enterprise Information Systems: EIS) หมายถึง ระบบที่ช่วยสนับสนุนสารสนเทศร่วมกันทั้งองค์กรตามความต้องการในแต่ละส่วนงาน ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้ระบบจะมีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการจนถึงระดับสูง นอกจากนี้ยังสามารถทำงานร่วมกับองค์กรอื่นได้อีกด้วย ระบบ EIS นี้จัดว่าเป็นส่วนสำคัญของระบบ Enterprise Resource Planning (ERP)

ระบบสนับสนุนการทำงานขององค์กร (Enterprise Support Systems: ESS)หมายถึง ระบบที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในระดับบุคคล กลุ่ม และองค์กร โดยมีระบบEnterprise Information Systems เป็นส่วนประกอบในการจัดการสารสนเทศ และมีระบบ Decision Support Systems เพื่อช่วยในการวางแผนงานต่างๆ ในบาครั้งระบบ ESS นี้จะใช้ประโยชน์จากคลังข้อมูลขององค์กร (Data Warehouse) ซึ่งจะทำให้การจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูลสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น และในที่สุดจึงเรียกระบบดังกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า “ระบบสนับสนุนการตัดสินใจระดับองค์กร (Enterprise Decision Support Systems : EDSS)”เนื่องจากระบบสนับสนุนการตัดสินใจระดับองค์กร มีวัตถุประสงค์เพื่อต้อการสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้ทุกระดับ และการตัดสินใจที่สำคัญที่สุดคือ การตัดสินใจจากผู้บริหารระดับสูงสุด ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ใช้ประกอบการตัดสินใจก็คือ “สารสนเทศ (Information” ที่มีอยู่ทั้งในและนอกองค์กร สำหรับสารสนเทศภายในองค์กรที่เกิดจากกระบวนการทางธุรกิจ จะต้องมีความสอดคล้องกันในทุกส่วนงานขององค์กร ดังนั้น ระบบ Executive Information Systems จึงจัดว่าเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับระบบ EDSS

ประโยชน์ของระบบ EIS ประเภทของการตัดสินใจที่จำแนกตามลักษณะการบริหารงานในองค์กร โดยเน้นที่การบริหารงานหรือภาระหน้าที่ของผู้บริหารเป็นสำคัญ ซึ่งหน้าที่อย่างหนึ่งที่ปรากฏชัดเจนเป็นอย่างมากของผู้บริหาร คือ “ทำการตัดสินใจ (Make Decision)” เพื่อดำเนินงานในด้านต่างๆ ดังนั้น “สารสนเทศ” จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้บริหารเพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้องแม่นยำในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างทันการ

หากมีการนำระบบ EIS เข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญในการตรวจสอบสารสนเทศต่างๆ ก่อนส่งเข้าสู่กาตัดสินใจของผู้บริหาร จะทำให้สารสนเทศที่ได้มีความถูกต้องแม่นยำและมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจเป็นอย่างมาก ส่งผลให้การตัดสินใจแก้ไขปัญหาของผู้บริหารมีความถูกต้องแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่วนของการตัดสินใจนั้น ผู้บริหารจะมีเครื่องมือสำคัญที่คอยสนับสนุนการตัดสินใจอยู่เช่นเดียวกัน นั่นคือ “ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS)”ดังนั้น หากผู้บริหารมีระบบ EIS เพื่อรองรับกับความต้องการสารสนเทศที่มีความถูกต้องน่าเชื่อถือ และตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จะสามารถยกระดับประสิทธิภาพของการสืบค้นและตรวจสอบสารสนเทศก่อนเข้าสู่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป

คุณลักษณะและความสามารถของ EISดังที่ทราบกันแล้วว่าระบบ EIS เป็นระบบซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานของผู้บริหารระดับสูง ดังนั้น ระบบ EIS ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบธุรกิจทั้งหมดขององค์กร จึงประกอบไปด้วยคุณลักษณะหลายประการโดยทั่วไป ดังในตารางต่อไปนี้คุณภาพของสารสนเทศมีความยืดหยุ่นเป็นสารสนเทศที่มีความสมบูรณ์เป็นสารสนเทศที่มีความทันสมัยเชื่อมโยงข้อมูลส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันได้เป็นสารสนเทศที่เชื่อถือได้เป็นสารสนเทศที่สามารถตรวจสอบได้ความสะดวกของผู้ใช้ใช้งานง่ายเนื่องจากแสดงผลในรูปแบบเว็บเพจใช้งานร่วมกับฮาร์แวร์ได้หลายรูปแบบแสดงผลในรูปแบบ GUI ได้ดีมีระบบรักษาความปลอดภัยและควบคุมการเข้าใช้งานเชื่อมโยงกับระบบ Internet ได้มีระบบแนะนำการใช้งานความสามารถทางเทคนิคเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ทั่วโลกสืบค้นข้อมูลเก่าและปัจจุบันได้พร้อมกันเข้าถึงข้อมูลในจดกมายอิเล็กทรอนิกส์ได้ใช้พยากรณ์ข้อมูลได้เรียกใช้ข้อมูลภายนอกได้บ่งชี้ปัญหาและสาเหตุของปัญหาได้เขียนคำอธิบายข้อมูลได้มีระบบวิเคราะห์แบบ Ad hocประโยชน์ที่ได้รับเพิ่มประสิทธิภาพของระบบสนับสนุนการตัดสินใจเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกประหยัดเวลาทำให้วางแผนงานได้ง่ายและมีประสิทธิภาพเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารข้อมูลช่วยค้นหาปัญหาและทางแก้ไขนอกจากคุณลักษณะและความสามารถโดยทั่วไปดังในตาราข้างต้นแล้ว ในที่นี้จะขอเสนอคุณลักษณะและความสามารถพิเศษของ EIS เพิ่มเติมอีก ดังต่อไปนี้ความสามารถในการขุดเจาะสาสนเทศ (Drill Down)ความสามารถพิเศษประการแรกของระบบ EIS คือ การบ่งบอกรายละเอียดของรายงานหรือสารสนเทศแบบสรุปได้ เช่น รายงานเกี่ยวกับยอดขายรายวันหรือรายสัปดาห์ ข้อมูลยอดขายเหล่านี้จะถูกแบ่งออกเป็นหมวดหรือแบ่งตามพื้นที่ ซึ่งทำให้ผู้บริหารพบปัญหาหรือข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติม รวมทั้งยังสามารถบ่งบอกข้อมูลในอนาคตได้ Drill Down เป็นเครื่องมือที่ผู้ใช้สร้างขึ้นเองโดยไม่ใช้เมนูซึ่งมีอยู่เดิม และไม่มีลักษณะของ GUI โดยภายในระบบจะอนุญาตให้ผู้ใช้สร้าง Drill Down ได้ด้วยหน้าจอเปล่าผู้ใช้ต้องเลือกข้อมูลที่ต้องการการอธิบายรายละเอียดวางลงในหน้าจอนั้น โดยอาศัยเมาส์เป็นอุปกรณ์ควบคุมหรืออาจสร้างเมนูสำหรับเลือกข้อมูลที่ต้องการได้ แต่จำกัดลักษณะของเมนูเพียง 2 ประเภท ได้แก่ Pull – down Menu และ Pop – up Menu นอกจากนี้ Drill Down ที่สร้างขึ้นยังสามารถทำงานร่วมกับระบบ Internet ได้อีกด้วยการสร้างเมนูใน Drill Down จะต้องอาศัยโปรแกรมสร้าง Ad hoc Query เป็นเครื่องมือสำคัญ โดยโปรแกรมจะสร้างเมนูอัตโนมัติ หลังจากผู้ใช้กำหนดตารางและฟิลด์ในฐานข้อมูลแล้ว ดังนั้นการสร้างเมนูของ Drill Down ผู้ใช้จะต้องมีความรู้และเข้าใจโครงสร้างของฐานข้อมูลเป็นอย่างดี จึงสามารถใช้เครื่องมือชนิดนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกเหนือจากการสร้างเมนูแล้วการใช้งาน Drill Down อาจอยู่ในรูปแบบของโปรแกรมประยุกต์หรือใช้งานบน Internet ซึ่งไม่ว่าจะเป็นงานรูปแบบใดก็ตามผู้ใช้จะต้องมีความเข้าใจในโครงสร้างของฐานข้อมูลจึงจะสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ใช้ที่ยังไม่เข้าใจด้านฐานข้อมูลก็สามารถศึกษาได้จากส่วนช่วยเหลือของโปรแกรมในการสร้างฐานข้อมูลความสามารถในกาสร้างความสำเร็จ (Critical Success Factor)Critical Success Factor หรือ CSF’s เป็นคุณลักษณะของ EIS ที่ช่วยกำหนดเป้าหมายขององค์กรเพื่อนำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์ การบริหาร หรือวางแผนควบคุมการทำงานภายในองค์กร โดยอาศัยข้อมูลหรือสารสนเทศจาก 3 แหล่ง คือ ในระหว่างการดำเนินงานขององค์กร ส่วนการผลิตหรืออุตสาหกรรม และสภาวะแวดล้อม เพื่อเป็นพื้นฐานในการวางแผนงาน นอกจากนี้ CSF ยังช่วยในการวางแผนการทำงานในระดับอื่นขององค์กร เช่น ระดับการผลิตที่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจที่เป็นจริง เป็นต้นCSF สามารถกำหนดเป้าหมายหรือกลยุทธ์ต่างๆ ขององค์กรได้โดยการติดตามข้อมูลหรือสารสนเทศ 5 ชนิด ที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินงานขององค์กร ได้แก่1. รายงานปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้น (Key Problem Narrative) โดยรายงานดังกล่าวจะเป็นการอธิบายถึงผลประกอบการและปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้น ตลอดจนสาเหตุของปัญหา โดยการอธิบายจะอยู่ในรูปของตารางหรือกราฟ เป็นต้น2. กราฟสรุปการดำเนินงานสำคัญด้วยการเน้นข้อความ (Highlight Charts) จะเป็นแหล่งสารสนเทศเพื่อการติดตามสารสนเทศของ CSF ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นการแสดงผลสารสนเทศแบบสรุปอยู่ในรูปกราฟที่แสดงมุมมองของผู้ใช้ในการนำเสนอผลงานที่น่าพึงพอใจได้อย่างชัดเจน โดยผู้ใช้มีการเน้นสารสนเทศส่วนที่สำคัญไว้ ดังนั้น CSF ของระบบ EIS จึงสามารถรวบรวมสารสนเทศดังกล่าวได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจนและถูกต้อง3. สารสนเทศทางการเงินในภาพรวม (Top – level Financials) สารสนเทศชนิดนี้จะทำให้ CSF ของ EIS สามารถกำหนดแผนกลยุทธ์ขององค์กรในด้านการเงินได้เป็นอย่างดี เนื่องจากสารสนเทศประเภทนี้แสดงข้อมูลทางการเงินในระดับภาพรวมเช่นเดียวกับที่ผู้บริหารต้องการ4. สารสนเทศชี้วัดผลประกอบการ (Key Factor) เป็นสารสนเทศที่สำคัญที่จะทำให้ CSF ของ EIS ใช้ในการกำหนดเป้าหมายหรือแผนกลยุทธ์ขององค์กรและนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ เรียกสารสนเทศประเภทดังกล่าวได้อีกชื่อหนึ่งว่า “ดัชนีชี้วัดผลประกอบการ(Key Performance Indicator : KPI)”5. รายงานแสดงรายละเอียดของดัชนีชี้วักผลประกอบการ (Detailed KPI Responsibility Report) เป็นสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบของรายงานแสดงรายละเอียดของดัชนีชี้วัดผลประกอบการของหน่วยงานหรือทั้งองค์กรที่ประสบความสำเร็จโดยคุณลักษณะและความสามารถที่เรียกว่า “CSF” ในการกำหนดเป้าหมายหรือแผนกลยุทธ์สำหรับองค์กรนี้ ระบบ EIS อาจจะต้องอาศัยเทคโนโลยีที่เรียกว่า “Intelligence Agent” หรือตัวแทนปัญญา เพื่อใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามสารสนเทศทั้ง 5 ชนิด ดังที่กล่าวมาข้างต้น
Mr.Scott Morton (1971) กล่าวว่า “เป็นระบบที่มีการทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ซึ่งคอมพิวเตอร์นี้จะช่วยให้ผู้ตัดสินใจสามารถนำข้อมูล และแบบจำลองต่าง ๆ (Model) มาใช้ประโยชน์เพื่อแก้ปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างได้”Mr.Keen และ Mr.Scott Morton (1978) กล่าว “ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ Decision Support System: DSS เป็นระบบที่ถูกเชื่อมโยงกันระหว่างทรัพยากรสมองของมนุษย์ให้ทำงานร่วมกับความสามารถของคอมพิวเตอร์ เพื่อต้องการปรับปรุงคุณภาพของการตัดสินใจให้ดีที่สุด กล่าวคือ ระบบ DSS เป็นระบบๆ หนึ่ง ที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์คอยช่วยเหลือ และให้การสนับสนุนเพื่อให้บุคคล ผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจ สามารถจัดการกับปัญหากึ่งโครงสร้าง (Semi structured) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”ลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีการใช้อย่างกว้างและมีความโดดเด่นเพราะเป็นระบบที่สามารถขยายความสามารถในการตัดสินใจของผู้บริหารได้ ซึ่งระบบมีลักษณะและความสามารถที่น่าสนใจ ดังนี้ (กิตติ ภักดีวัฒนะกุล, 2546)

1. สามารถสนับสนุนการตัดสินใจปัญหาทั้งแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง

2. สนับสนุนการตัดสินใจเฉพาะบุคคลและแบบกลุ่ม

3. สามารถเข้าถึงแหล่งเก็บข้อมูลที่หลากหลาย และแสดงผลให้อยู่ในรูปแบบรายงานได้หลากหลายเช่นกัน4. มีความยืดหยุ่น คือสามารถที่จะดัดแปลงระบบเพื่อนำไปใช้กับปัญหาอื่น ๆ ได้อย่างกว้างขวาง

5. ง่ายต่อการใช้งาน และมีระบบการโต้ตอบกับผู้ใช้ที่มีประสิทธิภาพ รองรับการใช้งานของผู้บริหารได้ทุกระดับ

6. สามารถวิเคราะห์และจำลองสถานการณ์การตัดสินใจแบบต่าง ๆ เพื่อทดสอบป้อนค่าตัวแปร และข้อจำกัดต่าง ๆ ได้แสดงส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ที่มา : http://www.uni.net.th/แสดงกระบวนการตัดสินใจ

1. เข้าใจสถานการณ์

2. กำหนดปัญหา

3. ออกแบบ

4. กำหนดเกณฑ์วัด

5. ตัดสินใจเลือกทางเลือก


ติดตามประประเมินผลข้อมูลการประเมินผลประโยชน์ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

1. พัฒนาประสิทธิภาพการทำงานส่วนบุคคล โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับการตัดสินใจ

2. พัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหา ช่วยให้ผู้ตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องมากขึ้น ยังสามารถช่วยแก้ปัญหากึ่งโครงสร้าง และปัญหาไม่มีโครงสร้างได้อีกด้วย

3. ช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร DSS ที่ทำงานในลักษณะ “Groupware” ทำให้ผู้บริหารสามารถทำการปรึกษา ประชุม และเรียกใช้สามารถสนเทศเพื่อประกอบการตัดสินใจผ่านเทคโนโลยีเครือข่าย คอมพิวเตอร์ได้ ทำให้สะดวก ประหยัดเวลาและ ระบบประมาณ

4. ส่งเสริมการเรียนรู้หรือการฝึกหัด เมื่อใช้งานบ่อย ๆ

5. เพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมองค์กร เนื่องจากการตัดสินใจถูกต้องทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น

ไม่มีความคิดเห็น: